วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การแก้ไขความขัดแย้งตัวของวัยรุ่นเอง

การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยตัวของวัยรุ่นเอง 
          ๑) รู้จักนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและวิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มาใช้ ด้วยการฝึกวิเคราะห์ให้มองเห็นถึงลักษณะความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ            
          ๒) รู้จักป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากอิทธิพลความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่าง เช่น ค่านิยมในวิธีการแสดงความรักต่อสถาบันหรือเพื่อนร่วมสถาบันที่ผิดวิธี 
          ๓) พยายามฝึกตรวจสอบความเชื่อของตนเองโดยวิธีดึงข้อดีข้อเสียของความคิด ความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ             
          ๔) ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
          ๕) ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือสนับสนุนให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้ง
          ๖) รู้จักแหล่งที่จะขอคำแนะนำหรือการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประสบปัญหาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจนนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง

รูปภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวัยเรียน




ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา

ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น 
1.       สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.      รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
3.      เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.      มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.      กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.      ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7.      เป็นแบบอย่างที่ดี 
8.      ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.      ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
10.   ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11.   เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น

เอกสารงานวิจัยพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง

พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง กรณีศึกษาการทะเลาะวิวาทของ นักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์และสามารถพยากรณ์ระดับพฤติกรรม การใช้ความรุนแรง   ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านการคบเพื่อนที่ กระทำผิด โดยวิเคราะห์ผ่านปัจจัยค่านิยมการใช้ความรุนแรงในสถาบัน ซึ่งส่งผลทำให้ปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้มีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง ส่วนปัจจัยด้านครอบครัวและชุมชน

การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปัจจัยสนับสนุน

การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปัจจัยสนับสนุน 
          ๑) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว =>สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดแก่สมาชิกในครอบครัว พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องหมั่นพูดคุย รับฟังปัญหา ให้คำปรึกษาที่ดีแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว
          ๒) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา =>คณะครูทุกคนต้องคอยดูแลให้คำแนะนำนักเรียนในกรณีที่พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งในฐานะที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ
          ๓) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ =>ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้นๆต้องมีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการนำเสนอสื่อโดยเฉพาะภาพลักษณ์ของพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 
          ๔) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ =>ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความเข้าใจ และรู้จักนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการใช้ความสามารถของตนเอง หรือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการนำมาซึ่งรายได้ที่ถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ผิดศีลธรรม ประเพณี และกฎหมาย

ตัวอย่างความขัดแย้ง


   ตัวอย่างข่าวความขัดแย้ง

ยิงกันสนั่นกรุง!! ๒ กลุ่มวัยรุ่น ตะลุมบอนแย่งหญิง




        เกิดเหตุกลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้ายกันอย่างอุกอาจ กลางลานจอดรถของสถานบันเทิงแห่งหนึ่งย่านห้วยขวาง ที่ลักลอบเปิดบริการเกินเวลา  ล่าสุดตำรวจระบุกำลังเร่งติดตามตัวผู้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท และเจ้าของร้านมาดำเนินคดี
          เกิดเหตุการณ์กลุ่มวัยรุ่นชายไล่ยิงวัยรุ่นชายอีกกลุ่ม บริเวณลานจอดรถของร้านอาหารกึ่งสถานบันเทิงแห่งหนึ่งริมถนนศูนย์วัฒนธรรม ย่านพระรามเก้า เขตห้วยขวาง ซึ่งมีกำแพงติดกับอาคารจอดรถของบมจ.อสมท ท่ามกลางกลุ่มนักเที่ยวที่มานั่งดื่มกินในร้านดังกล่าวที่เข้ามาช่วยกันห้ามปราม โดยวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวได้หยิบปืนมาจากในรถก่อนรุมทำร้ายวัยรุ่นชายที่ตกเป็นเหยื่อ ก่อนที่ตำรวจ สน.ห้วยขวาง จะมาถึงที่เกิดเหตุ ขณะที่กลุ่มชายฉกรรจ์ที่ร่วมกันรุมยำคู่อริได้ฉวยจังหวะแยกย้ายกันหลบหนีไป ส่วนวัยรุ่นชายที่นอนหมดสติ เพื่อนๆได้ช่วยพาขึ้นรถไปส่งโรงพยาบาล มีรายงานว่าอาการค่อนข้างสาหัส ถึงขั้นสมองบวม / ด้านกลุ่ม รปภ.ของร้าน ได้รีบเข้ามาเก็บกระสุนปืนที่มีการใช้ยิงขู่กันในระหว่างเกิดเหตุเพื่อทำลายหลักฐาน
          ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รุมทำร้ายดังกล่าวขึ้น ได้มีเสียงปืนดังขึ้นมาจากด้านในอาคารของร้านดังกล่าวที่เปิดบริการขายอาหารและสุราจนถึงโต้รุ่งทุกคืน จำนวน ๓ ชุด ชุดแรก ๕ นัด ชุดที่สอง ๓ นัด และชุดสุดท้ายอีก ๑ นัด  ก่อนที่กลุ่มวัยรุ่นสองกลุ่มจะวิ่งไล่กันออกมานอกร้าน โดยกลุ่มที่มีคนมากกว่าได้ใช้ปืนยิงขู่ให้อีกฝ่ายหยุด แต่ชายเสื้อฟ้าในภาพวิ่งหลบหนีไม่ทันจึงตกเป็นเหยื่อถูกรุมยำใหญ่ เบื้องต้นมีรายงานว่าสาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาท เรื่องแย่งจีบผู้หญิงที่มาเที่ยวในร้าน

ลักษณะปัญหาความขัดแย้ง

ลักษณะปัญหาความขัดแย้ง
      ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนและเยาวชนในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีเพื่อนมากและเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านร่างกายและจิตใจ วัยรุ่นจึงเป็นช่วงวัยที่มักประสบปัญหาเพราะเป็นระยะที่มีนิสัยโมโหง่าย ดื้อเพื่อนมีอิทธิพลต่อตนมากจึงทำให้เกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มเพื่อนเสมอๆ และมักก่อให้เกิดความรุนแรงและผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย

แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียนโดยสันติวิธี มีดังนี้

1. ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน

2. รู้จักการให้อภัยเพราะการให้อภัยจะทำให้ความขัดแย้งจบได้รวดเร็ว

3. ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหาความขัดแย้ง แต่ควรใช่สติและความคิดในการแก้ไขปัญหา

4. ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ

5. รู้จักการข่มใจ อดทนอดกลั้น เพื่อที่จะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคลี่คลายไปในทางที่ดี

6. ช่วยห้ามปรามไกล่เกลี่ยเพื่อนและคนใกล้ชิด อย่าให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันและต้องไม่ยุยงส่งเสริมให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน

7. ไม่ช่วยเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ช่วยไปทะเลาะกับคนอื่น ไปทำร้ายคนอื่นแทนเพื่อนต้องปฏิเสธเมื่อเพื่อนชักชวนให้ไปทะเลากับคนอื่น เป็นต้น

8. เมื่อมีความขัดแย้งจนตกลงกันไม่ได้ อาจไปขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากคุณครู อาจารย์ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง

ผลกระทบจากความขัดแย้ง

ผลกระทบจากความขัดแย้งภายในโรงเรียน
  • ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนหรือคนกลุ่มเล็ก อาจทำให้เกิดการชักชวนคนอื่นๆ มาร่วมทะเลาะวิวาท ทำให้เหตุการณ์ขยายวงกว้างขึ้น
  • ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ หรืออาจเสียชีวิต
  • เกิดความไม่สงบสุขในสังคม ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น อาจทำให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย
  •  ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียมิตร
  •  ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ หรืออาจเสียชีวิต
  • เกิดความไม่สงบสุขในสังคม ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น อาจทำให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย
  • ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข ผู้ปกครองเดือดร้อน มีความทุกข์ใจ โรงเรียนต้องเชิญผู้ปกครองไปพบ หรือถ้าฝ่ายเสียหายแจ้งความ ต้องไปดำเนินเรื่องต่อทำให้เสียเวลาในการเรียนด้วย
  • ความขัดแย้งที่เกินขึ้นระหว่างคนสองคนหรือคนกลุ่มเล็ก อาจทำให้เกินการชักชวนคนอื่น ๆ มาร่วมทำเลาะวิวาท ทำให้เหตุการณ์ขยายวงกว้างขึ้น
  • สภาพจิตใจถูกทำร้ายและบอบช้ำมาก เกิดความคับแค้นใจ
  • อาจถูกดำเนินคดีเพราะทำผดกฎหมาย เช่น การทำร้ายร่างกายผู้อื่น
  • เสียการเรียน เสียเวลา อาจเสียอนาคต เช่น เกินการหวาดกลัวฝ่ายตรงข้าง ทำให้ไม่กล้ามาโรงเรียน ต้องคอยหลบเลี่ยง และอาจทิ้งการเรียนกลางคัน
  • เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลัง เช่น ถ้าเกิดความพิการ ต้องเป็นภาระเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลในระยะยาว

สมมติฐานและสาเหตุของปัญหา

สมมุติฐาน

  • ถ้าปัญหาการทะเลาะวิวาทกันในโรงเรียนหมดไป ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องจะหมดไปด้วย
  • ค่านิยมของวัยรุ่นที่ผิดมีผลต่อการทะเลาะวิวาทกันภายในโรงเรียน

สาเหตุ


  • เกิดจากความไม่พอใจจนทำให้มีความขัดแย้งกันในเรื่องต่างๆ จนเกิดอารมณ์
    เป็นเหตุให้ใช้ความรุนแรงต่อกันมักเกิดกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนิทกัน อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบว่าตัวเองถูกอีกฝ่ายไม่พอใจ
  • หยอกล้อและแกล้งกัน อาจจะเล่นแรงเกินไปหรืออีกฝ่ายไม่มีอารมณ์เล่นด้วย การแกล้งกันอาจทำให้เกิดการทะเลาะกันได้
  • การหึงหวง  วันรุ่นส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และบางคนอาจจะมีคู่รัก 
  • การชอบหรือการสนใจคนคนเดียวกันหรือสนใจคนที่คนรักอยู่แล้วจะทำให้เกิดการหึงหวง เป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้ง
  • มีความผิดปกติทางจิตใจ คือ เป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรง ขาดความเมตตาปรานี
  • มาจากครอบครับที่มีแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่ทำเลาะกัน ทุบตีและด่าว่ากัน ลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรงดังกล่าว อาจเกิดการเลียนแบบ
    มีอารมณ์ร้อนหรือใช้ความรุนแรงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
  • มีค่านิยมที่ผิดๆ ซึ่งเป็นค่านิยมที่แสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น แก้แค้นแทนเพื่อนทั้งๆ ที่ตัวองไม่ได้โกรธหรือมีเรื่องทะเลาะกับเขา
    แต่ด้วยความที่เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกันหรือด้วยวามรักเพื่อนจึงช่วยเพื่อนในทางที่ผิด โดยการไปทะเลาะกับฝ่ายตรงข้าม และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน
  • เกิดการกระทบกระทั่งกัน บางครั้งอาจจะไม่มีเจตนาที่จะมีเรื่องขัดแย้งกันแต่ทำไปด้วยความไม่ไดตั้งใจหรือทำไปโดยไม่ได้คิดอะไร เช่น
    พูดจาด้วยคำพูดที่รุนแรงโดยไม่ได้คิดหรือเดินชนกันโดยไม่ได้ตั้งใจก็อาจจะทำให้เกิดความไม่พอใจหรือเกิดความขัดแย้งกันได้
  • เป็นผลมาจากพ่อแม่ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว แยกทางกัน ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งเลี้ยงลูกตามลำพังได้รับความยากลำบาก
    จนมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในครอบครัว ทำให้ได้รับผลกระทบที่ตามมาจากความขัดแย้งนั้น
  • การเลียนแบบสื่อต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการขัดแย้ง ใช้ความรุนแรง เช่น ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และหนังสือต่างๆ เป็นต้น
  • ความไม่เข้าใจกัน ความหมั่นไส้ เช่น นักเรียนขาดจิตสำนึกต่อสวนรวม โดยใช้เครื่องแบบเป็นเครื่องหมายความแตกแยกระหว่างกลุ่ม
    นักเรียนจึงไม่ควรยึดถือศักดิ์ศรีของโรงเรียนหรือสถาบันในทางที่ไม่ถูกต้อง ควรเชิดชูและรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน และสถาบันในทางที่ดีงาม
    มีความสำนึกในหน้าที่ของตนเองในการเป็นนักเรียน นักศึกษาที่ดี และช่วยเหลือกันทั้งในด้านการเรียนและด้านอื่น ๆ

ปัญหาการทะเลาะวิวาทภายในโรงเรียน


ประเด็นคำถาม

  • สาเหตุของการทะเลาะวิวาทในโรงเรียนเกิดขึ้นอย่างไร
  • คิดว่าเราควรแก้ปัญหาที่จุดไหน
  • ผู้ที่ให้สัมภาษณ์เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทมั้ย
  • ถ้าเพื่อนเกิดเหตุการทะเลาะวิวาทคุณจะทำอย่างไร
  • คุณคิดว่ามีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหาทะเลาะวิวาทอย่างไร
  • เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทสามารถเกิดได้ที่ไหน
  • ปัญหาหลักๆของการทะเลาะวิวาทมักเกิดจากอะไรมากที่สุดในปัจจุบัน
  • ถ้าปัญหาเกิดกับคุณ คุณจะทำอย่างไร
  • หลังจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทแล้ว จะเกิดขึ้นซ้ำอีกได้หรือไม่
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทแบบซ้ำๆ คุณจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร